Skip to main content
เบราว์เซอร์ที่คุณใช้ ไม่รองรับการเล่นไฟล์นี้ โปรดเลือกใช้ Firefox หรือ Chrome แทน

ASEAN Weekly ทางประชาไทใส่เสียงสัปดาห์นี้ พูดคุยกับ อ.ดุลยภาค ปรีชารัชช เรื่องนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านในรอบศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 โดยมีทั้งนโยบายที่โอนอ่อนผ่อนตามไปกับมหาอำนาจ แต่ส่งผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้าน ไปจนถึงการดำเนินต่อประเทศเพื่อนบ้านเป็นการเฉพาะ

ส่วนแนวโน้มในระยะหลัง ไทยมีนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในบทบาทตั้งรับ มากกว่าจะมีบทบาทเชิงรุกกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังจะเห็นได้จาก กรณีนโนบายเรื่องพื้นที่ทับซ้อนกับกัมพูชา หรือการให้มาเลเซียมีบทบาทเป็นผู้จัดการเจรจาสันติภาพระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยคือ สมช. และ บีอาร์เอ็น

นอกจากนี้ยังมีตัวแปรสำคัญที่จะมีผลต่อนโยบายระหว่างประเทศของไทย ได้แก่ กระบวนการอาเซียนภิวัฒน์ (ASEANisation) ที่การดำเนินนโยบายโดยเฉพาะเรื่องการค้าการลงทุนจะต้องสอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ก็มีกระบวนการเอเชียภิวัฒน์ (Asianisation) ที่มีชาติมหาอำนาจอย่างจีน หรืออินเดียเข้ามามีบทบาทในภูมิภาค ดังนั้นสูตรทางการเมืองระหว่างประเทศของไทยเองก็อาจจะต้องปรับให้เข้ากับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นชาติมหาอำนาจที่กำลังเข้ามามีบทบาทในภูมิภาค ทั้งจีนที่มีบทบาทในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และสหรัฐอเมริกาที่กลับมามีบทบาทในพม่า เป็นต้น